จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยา หมายถึง
วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิ
สาขาของจิตวิทยา
1.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ๆ หรือกับสังคม
2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ
ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาการเรียนการสอน (Psychology
in Teaching and Learning) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
4.จิตวิทยาคลินิก (Clinical
Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิดปกติของมนุษย์
และวิธีการบำบัดรักษา
5.จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology
of Learning) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
6.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied
Psychology) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ
ทางจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง
การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
7.จิตวิทยาทั่วไป (General
Psychology) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้เป็น
พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป
หรือใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
จิตวิทยาการศึกษา ( Education
Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน
โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้
ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี
ความเป็นมาของจิตวิทยา
คำว่า จิตวิทยา แปลมาจาก psychology
ในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำนี้มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ “psyche” หมายถึงวิญญาณ ส่วน logos หมายถึง การศึกษาเล่าเรียน
จากคำนิยามนี้แสดงให้เห็นว่า เดิมที่เดียวจิตวิทยา หมายถึง
การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือเรื่องลึกลับ ต่อมานักปราชญ์ให้ความหมายของ psyche
ว่า หมายถึง จิต ดังนั้น วิชาจิตวิทยาจึงเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องจิต
เพลโต (Plato)
และอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก
เชื่อว่า ร่างกายและจิตใจเป็น 2 สิ่ง
ที่แยกขาดจากกันและจิตใจจะคงอยู่แม้จะตายไปแล้ว เพลโตมองเชิงบวกว่า
การศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของจิตใจได้ ส่วนอริสโตเติลกลับมองบทบาทของการศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ไปในเชิงลบ
เดส์กาตส์ (Rene
Descartes) นักปรัชญาและคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เชื่อในความเป็น 2
ส่วนของร่างกายและจิตใจ
และยอมรับว่ามีสัมพันธภาพระหว่างร่างกายและจิตใจที่ปราศจากสิ่งรบกวน
คริสต์ศตวรรษที่ 18
นักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อ ล็อค (John Locke) นำเสนอว่าความรู้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากอวัยวะรับสัมผัส
และความคิด ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาโดยกำเนิด
คริสต์ศตวรรษที่ 20
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เวเบอร์ (E.H. weber) ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาจิตใจ
จนพบความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างความเข้มข้นของสิ่งเร้า
และผลที่เป็นประสบการณ์จากการสัมผัส
เวลาใกล้กัน เฟชเนอร์
(G.T.
Fechner) บิดาแห่งจิตวิทยาเชิงปริมาณ
นำเสนอจิตฟิสิกส์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอก
และประสบการณ์จากประสาทสัมผัส
ต่อมาดาร์วิน (Darwin)
เสนอวิวัฒนาการ “กำเนิดสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาและความคิดมนุษย์”
ปี คศ. 1879 วุนท์ (Wilhelm
Wundt) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกของโลก เพื่อพิสูจน์ว่า กิจกรรมทางสมองทุก ๆ
กิจกรรมที่เกิดขึ้น ย่อมมีกิจกรรมทางกายภาพเกิดขึ้นด้วย
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท
และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ
ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์
เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้
ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2.
ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ
การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
จิตวิทยาการศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์
มีดังนี้
1.จุดมุ่งหมาย
จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้
และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก
สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน
เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.ปกครองและการแนะแนว
ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ
เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
พฤติกรรม(Behavior)
การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผู้อื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม การยิ้ม
การหัวเราะ ดีใจ เสียใจ การคิด การฝัน การเต้นของหัวใจ
พฤติกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท
พฤติกรรมภายนอก ( Overt
Behavior)
พฤติกรรมภายใน ( Covert
Behavior)
ประโยชน์ของจิตวิทยา
1. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
2. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
3. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
4. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
5. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
6. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
7. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
8. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
9. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
10. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว
มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
11. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม
(Social Perception)ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1. ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2.
หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.
การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ
แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้
กับการเรียนการสอน
ประการแรก
มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง
นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน
พร้อมทั่งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.ความรู้เรืองพัฒนาการมนุษย์
2.หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต
ต่างๆ
3.ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ
แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนาจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก
มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกียวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง
นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพือครูและผู้ที่เกียวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญ
1.มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท
และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ
ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์
เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้
ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก
วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ
พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน
เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น